เมนู

สงเคราะห์ได้ยาก และคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ครองเรือนก็เป็นอย่างนั้น เป็น
ผู้อันผู้อื่นสงเคราะห์ยาก. เรารังเกียจความเป็นผู้อันผู้อื่นสงเคราะห์ยากนั้น
จึงปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป. บทว่า อนสฺสวา คือ เป็นผู้ไม่
เชื่อฟังถ้อยคำ. บทว่า อวจนกรา ไม่ทำตามคำ คือว่ายาก. บทว่า
ปฏิโลมวุตฺติโน เป็นผู้ประพฤติหยาบ คือมีปกติพูดคำหยาบ. อธิบายว่า
มุ่งต่อสู้ท่าเดียว. บทว่า อญฺเญเนว มุขํ กโรนฺติ เบือนหน้าไปโดยอาการ
อื่น คือเห็นผู้ให้โอวาทแล้วเบือนหน้ามองดูไปทางทิศอื่น. บทว่า
อพฺยาวโฏ หุตฺวา คือ พึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจ. บทว่า อนเปกฺโข หุตฺวา คือ
พึงนั้นผู้ไม่ห่วงใย.
จบคาถาที่ 9

คาถาที่ 10


10) โอโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ
สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา โกวิฬาโร
เฉตฺวาน ธีโร คิหิพนฺธนานิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

นักปราชญ์ปลงเสียแล้วซึ่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์
ดุจต้นทองหลางที่ขาดใบแล้ว ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์
ได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 10
ดังต่อไปนี้.

บทว่า โอโรปยิตฺวา ปลงเสียแล้ว คือนำออกไปแล้ว. บทว่า
คิหิพฺยญฺชนานิ เครื่องหมายเเห่งคฤหัสถ์ คือเครื่องหมายแห่งความเป็น
คฤหัสถ์มีอาทิ ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ หญิง บุตร ทาสหญิง ทาสชาย เพราะฉะนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์. บทว่า สญฺฉินฺนปตฺโต ขาดใบ คือ
มีใบร่วงหล่นแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน คือ ตัดแล้วด้วยมรรคญาณ. บทว่า
วีโร ผู้เป็นวีรชน คือประกอบแล้วด้วยความเพียรในมรรค. บทว่า
คิหิพนฺธนานิ เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เรื่องผูกคือกาม เพราะว่า
กามเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์. พึงทราบความแห่งบทเพียงเท่านี้ก่อน.
ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าดำริอยู่อย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงปลงซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางที่ขาดใบแล้วฉะนั้น ดังนี้แล้ว
จึงเริ่มวิปัสสนาได้บรรลุปัจเจกภูมิ บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป. บทว่า สาราสนญฺจ คือ อาสนะ
อันเป็นสาระ. บทว่า สินานิ คือ พลัด. บทว่า สญฺฉินฺนานิ คือ
ขาดใบ. บทว่า ปติตานิ คือ พ้นจากก้าน. บทว่า ปริปติตานิ ร่วง
หล่นแล้ว คือตกลงไปบนพื้นดิน.
จบคาถาที่ 10
จบอรรถกถ่าปฐมวรรค

อรรถกถาทุติยวรรค


คาถาที่ 1-2


คาถาที่ 1


11) สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริธีรํ
อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ
จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.

ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้
เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์
ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มี
สติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

คาถาที่ 2


12) โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริธีรํ
ราชา รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย
เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค.

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน
ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์
ไซร้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น
อันพระองค์ทรงชนะแล้ว เสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อ
มาตังคะ ละโขลงเที่ยวไปอยู่ในป่าแต่ตัวเดียวฉะนั้น.